วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ระบบการผสมพันธุ์สัตว์


ระบบการผสมพันธุ์ เป็นการวางแผนการผสมพันธุ์ เพื่อให้ลูกที่เกิดมา มีลักษณะที่ดีกว่าพ่อแม่ ซึ่งสามารถแบ่งระบบการผสมพันธุ์ตามความสัมพันธ์กันได้ ดังนี้ คือ
1. การผสมในพันธุ์เดียวกัน (Straingth Breeding) เป็นการผสมพันธุ์ โดยการผสมสัตว์ซึ่งเป็นพันธุ์เดียวกันเข้าด้วยกัน เช่น ผสมโคพันธุ์ขาว - ดำ กับพันธุ์ขาว - ดำ หรือซาฮีวาล กับ ซาฮีวาลเป็นต้น สามารถแบ่งการผสมพันธุ์ออกได้เป็น 2 พวก คือ
- ผสมนอกสายสัมพันธ์ (Out Breeding) เป็นการผสมสัตว์พันธุ์เดียวกัน แต่สัตว์ที่ผสมพันธุ์กันนั้น ไม่มีความสัมพันธ์กันทางบรรพบุรุษ คือไม่เป็นญาติกัน มีวัตถุประสงค์ในการผสมคือ ป้องกันการเกิดเลือดชิด เพื่อนำลักษณะเด่นนอกฝูงเข้ามาในฝูง และเพื่อให้เกิดลักษณะดีเด่นเกินพ่อแม่ (Vigor)


การดำรงชีวิตของสัตว์

สิ่งมีชีวิตทุกชนิดมีความต้องการปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการมีชีวิตอยู่รอด และการขยายแพร่พันธุ์ ความต้องการดังกล่าวนี้อาจแตกต่างกันไปตามลักษณะเฉพาะ ทำให้รูปแบบของสิ่งมีชีวิตแตกต่างกัน ผลที่ตามมาจากความหลากหลายของรูปแบบของชีวิตนี้ ทำให้ธรรมชาติประกอบขึ้นด้วยสิ่งมีชีวิตต่างๆมากมาย ที่ต่างก็ทำหน้าที่ของตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ซึ่งปัจจัยที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตของสัตว์ป่า สามารถจำแนกได้ดังนี้







การเกิดของสัตว์


๑. อัณฑชะกำเนิด   สัตว์ที่เกิดในไข่
๒. ชลาพุชะกำเนิด   สัตว์ที่เกิดในมดลูก
๓. สังเสทชะกำเนิด   สัตว์ที่เกิดในเถ้าไคร (ของสกปรก)
๔. โอปปาติกกำเนิด   สัตว์ที่ผุดเกิดขึ้นโตทันที
ในกำเนิด ๔ นั้น อัณฑชะกำเนิดและชลาพุชะกำเนิด ๒ กำเนิดนี้ รวมเรียกว่า คัพภไสยยกกำเนิด คือเป็นสัตว์ที่ต้องอาศัยครรภ์มารดาเกิด
ส่วนสังเสทชะกำเนิดและโอปปาติกกำเนิด ไม่ต้องอาศัยครรภ์มารดาเกิด
สัตว์ที่เป็นอัณฑชะกำเนิด ได้แก่ นก กา และเป็ด ไก่ เป็นต้น
สัตว์ที่เป็นชลาพุชะกำเนิด ได้แก่ มนุษย์ และ ช้าง ม้า เป็นต้น
สัตว์ที่เป็นสังเสทชะกำเนิด ได้แก่ หนอนในปลาเน่า และมอดในข้าวสาร เป็นต้น
สัตว์ที่เป็นโอปปาติกกำเนิด ได้แก่ สัตว์นรก สัตว์ดิรัจฉานบางจำพวก เปรตบางจำพวก มนุษย์ในสมัยต้นกัป และเทวดา เป็นต้น

การกลายพันธุ์ของสัตว์


การเปลี่ยนแปลงระดับโครโมโซม



การกลายพันธุ์ระดับโครโมโซม
แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
  1. การเปลี่ยนแปลงรูปร่างโครงสร้างภายในของแต่ละโครโมโซม เป็นผลให้เกิดการสับเปลี่ยนตำแหน่งของยีนที่อยู่ในโครโมโซมนั้น ซึ่งอาจเกิดขึ้นเนื่องจาก
    1. การขาดหายไป (deletion หรือ deficiency) ของส่วนใดส่วนหนึ่งของโครโมโซม ทำให้ยีนขาดหายไปด้วย เช่น กรณีการเกิดโรคของกลุ่มอาการครี-ดูว์-ชา โดยโครโมโซมคู่ที่ 5 เส้นหนึ่ง มีบางส่วนขาดหายไป
    2. การเพิ่มขึ้นมา (duplication) โดยมีส่วนใดส่วนหนึ่งของโครโมโซม เพิ่มขึ้นมามากกว่าที่มีอยู่ปกติ
    3. การเปลี่ยนตำแหน่งทิศทาง (inversion) โดยเกิดการสับเปลี่ยนตำแหน่งของยีนภายในโครโมโซมเดียวกัน เนื่องจากเกิดรอยขาด 2 แห่งบนโครโมโซมนั้น และส่วนที่ขาดนั้นไม่หลุดหายไป แต่กลับต่อเข้ามาใหม่ในโครโมโซมเดิมโดยสลับที่กัน
    4. การเปลี่ยนสลับที่ (translocation) เกิดจากการแลกเปลี่ยนส่วนของโครโมโซมระหว่างโครโมโซมที่ไม่เป็นโฮโมโลกัสกัน